ความเป็นมาของธงชาติไทย

การยืนตรงเคารพธงชาตินั้นเป็นเหมือนกิจวัตรที่จะต้องทำโดยเฉพาะในองค์กรหน่วยงานรัฐ และโรงเรียนเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีความสำนึกรักชาติไทยของเรา แต่มีใครรู้บ้างว่ากว่าจะมาเป็นธงชาติไทย ธงไตรรงค์ปัจจุบันนี้เราก็เคยมีธงชาติรูปแบบอื่นมาก่อน วันนี้เราจะชวนมาดูความเป็นมาของธงชาติไทยกันเลย ความเป็นมาของธงชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า เรือหลวงกับเรือราษฎรใช้ธงสีแดง  ทรงให้เพิ่มรูปจักรสีขาวอันเป็นเครื่องหมายแห่งราชวงศ์จักรีลงบนธงสีแดงเพื่อใช้สำหรับเรือหลวง สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงเพิ่มรูปช้างเผือกในรูปจักรสีขาวเพื่อใช้สำหรับเรือหลวง เนื่องจากประเทศไทยได้ช้างเผือก 3 เชือก ส่วนเรือราษฎรใช้ธงสีแดงอย่างเดิม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ธงสีแดงที่เรือราษฎรใช้นั้น ซ้ำกับประเทศอื่นทำให้สังเกตได้ยาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรือราษฎรใช้ธงสีแดงมีรูปช้างสีขาวอยู่ตรงกลางส่วนเรือหลวงใช้ธงสีขาวมีรูปช้างสีขาวอยู่ตรงกลาง ปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 129 ให้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าข้างเสาธง ใช้เป็นธงราชการ ต่อมาได้ยกเลิกใช้ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงชาติแบบสีแดงสลับสีขาวห้าริ้ว และในพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 เพราะประเทศไทยได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งธงชาติส่วนใหญ่จะมี 3 สี จึงให้มีแถบสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินแก่ เรียกว่า ธงไตรรงค์ การเปลี่ยนแปลงมาเป็นธงไตรรงค์นี้ […]

Read More